กิจกรรม 22 - 26 พฤศจิกายน 2553


ที่มา http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=2146&Itemid=3


อัตราเร็วแสงเป็นค่าคงตัวพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดค่าหนึ่ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อดีตหลายคนพยายามศึกษา Galileo ถือว่าเป็นบุคคลแรกที่พยายามทดลองวัดหาอัตราเร็วแสง หลังจากนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์หลายคน/กลุ่ม พยายามวัดให้ได้ค่าที่มีความแม่นยำมากขึ้น จนปัจจุบัน เราสามารถวัดอัตราเร็วแสงที่เป็นค่าที่ถูกต้อง 100% เลยทีเดียว

ความพยายามในการวัดอัตราเร็วแสง

ในปี ค.ศ.1629 Beeckman ทำการสังเกตแสงไฟจากลูกปืน ที่สะท้อนออกมาจากกระจกราบซึ่งอยู่ห่างจากปากกระบอกปืน 1 ไมล์ และคิดว่าแสงน่าจะมีอัตราเร็วค่าหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1638 Galileo พยายามวัดอัตราเร็วของแสง โดยการไปยืนอยู่บนยอดเขาลูกหนึ่งและให้ผู้ช่วยของเขาอยู่บนยอดเขาอีกลูกหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์ โดยทั้งคู่ถือโคมไฟไว้คนละดวงแล้วตกลงกันว่า เขาจะเปิดโคมไฟให้แสงจากโคมไฟเดินทางจากเขาไปหาผู้ช่วย เมื่อผู้ช่วยของเขาเห็นแสงก็แสดงว่าแสงได้เดินทางไปถึงผู้ช่วยของเขาแล้วและให้ผู้ช่วยของเขาเปิดโคมไฟทันทีที่เห็นแสงไฟจากเขา เมื่อเขาเห็นแสงจากผู้ช่วยเดินทางกลับมา เขาก็จะทราบเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางไปและกลับ โดยการหาอัตราส่วนระหว่างระยะทางไปกลับและเวลาที่แสงเดินทางไปกลับ เขาก็จะทราบความเร็วของแสง

แต่จากผลการทดลอง เขาไม่สามารถวัดเวลาที่แสงเดินทางไปกลับได้เลย Galileo จึงสรุปว่า อัตราเร็วแสงมีค่าสูงมาก ไม่สามารถวัดด้วยวิธีการนี้ได้ แต่ Galileo ได้ประมาณว่าแสงมีอัตราเร็วมากกว่าเสียงประมาณ 10 เท่า

วิธีการวัดอัตราเร็วของแสงของ Galileo

ข้อสังเกต ค่า Reaction time ของคนมีค่าประมาณ 0.2 วินาที จะเห็นว่าช่วงเวลานี้ช้าเกินไปที่จะวัดอัตราเร็วแสงได้ด้วยวิธีของ Galileo

ในปี ค.ศ. 1676 Roemer แสดงให้เห็นว่าอัตราเร็วของแสงมีค่าจำกัดค่าหนึ่ง โดยใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการเกิดจันทรุปราคาของดวงจันทร์ของดาวพฤหัส โดย Roemer สามารถวัดแสงที่ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสถูกบังได้ หลังจากการสังเกตหลายๆ ปี พบว่า เวลาเริ่มต้นที่ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสถูกบังนั้น มีค่าแตกต่างกัน ทั้งๆ ที่การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสเหมือนเดิมทุกประการ Roemer จึงตั้งข้อสังเกตว่าเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางจากดวงจันทร์ที่ถูกบังโดยดาวพฤหัสมายังโลกตอนที่อยู่ตำแหน่งแตกต่างกันรอบดวงอาทิตย์มีค่าแตกต่างกัน ดังรูปที่ 2 Roemer พบว่าเวลาที่แสงใช้ในตำแหน่งที่ 1 มีค่าน้อยกว่าในตำแหน่งที่ 2 เหตุที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะว่า แสงเดินทางไกลกว่าตำแหน่งที่ 1 ซึ่งประมาณเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์





ที่มา http://forum.iloveferns.com/index.php/topic,999.0.html


หินภูเขาไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

หินภูเขาไฟ (Volcanic rock) หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) เกิดจากการปะทุขึ้นมาของแมกมาจากใต้โลกขึ้นสู่ ผิวโลกเป็นลาวาไหลออกมา ซึ่งการปะทุขึ้นมาของแมกมาเกิดขึ้นได้ หลายรูปแบบ เช่น

1. การปะทุแบบไม่รุนแรง เป็นการปะทุตามปล่องหรือรอยแตก รอยแยกของแผ่นเปลือกโลกลาวาไหลหลากเอ่อล้นไป ตามลักษณะภูมิประเทศ ลาวาจะถ่ายโอนความร้อนให้กับบรรยากาศภายนอกอย่างรวดเร็ว ทำให้อะตอมของธาตุ ต่าง ๆ มีเวลาน้อยในการจับตัวเป็นผลึก หินลาวาหลากจึงประกอบด้วยแร่ที่มีผลึกขนาดเล็กหรือเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นและจำแนกผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น
หินบะซอลต์ เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์
หินแอนดีไซต์ เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดปานกลาง มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 52-66 เปอร์เซ็นต์
หินไรโอไรต์ เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดมาก มีปริมาณซิลิกามากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์
2. การปะทุแบบรุนแรง เป็นการปะทุแบบระเบิด เกิดตามปล่องภูเขาไฟ ขณะที่แมกมาเกิดปะทุพ่นขึ้นมาด้วยแรง ระเบิดพร้อมกับฝุ่น ก๊าซ เถ้า ไอน้ำ และชิ้นวัตถุที่มีรูปร่างขนาดต่างๆ กันกระเด็นขึ้นไปบนอากาศ ชิ้นวัตถุเหล่านี้อาจเป็นเศษหินและแร่ เย็นตัวบนผิวโลกตกลงมาสะสมตัวทำให้เกิดแหล่งสะสมชิ้นภูเขาไฟ เมื่อแข็งตัวจะเป็นหินชิ้นภูเขาไฟหรือหินตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic rock) ได้แก่ หินทัฟฟ์ (tuff) หินแอกโกเมอเรต (agglomerate) หินพัมมิซ หินสคอเรีย เป็นต้น


หมายเหตุ นักธรณีวิทยาบางคนได้จัดหินตะกอนภูเขาไฟเป็นหินอัคนีแต่บางคนจัดเป็น หินตะกอนเนื่องจากกระบวนการเกิดในช่วง แรกเกิดแบบหินอัคนี แต่ช่วงหลังมีการพัดพาไปสะสมแบบหินตะกอน


ในประเทศไทยพบหินภูเขาไฟที่ใดบ้าง

จากการสำรวจของนักธรณีวิทยา จากกรมทรัพยากรธรณีของประเทศไทย พบหินภูเขาไฟอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของภาคเหนือ ที่ราบภาคกลาง แนวเขาเพชรบูรณ์ ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และที่ราบสูงโคราช ซึ่งหินภูเขาไฟเหล่านี้จะมีส่วนประกอบของแร่ธาตุต่าง ๆ ตั้งแต่ แร่ธาตุที่มีสีเข้มดำ จนถึงแร่ธาตุที่มีสีจาง หินภูเขาไฟที่พบมีช่วงอายุการเกิดต่างกันที่มีอายุแก่ที่สุดที่พบจะมีอายุ อยู่ในยุคไซลูเรียน ถึงช่วงล่างของยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 435 ล้านปี จนถึง 280 ล้านปี) ซึ่งหินภูเขาไฟที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ส่วนใหญ่มักจะถูกแปรสภาพกลายเป็นหินแปรไปมากแล้ว ต่อมาในช่วงเวลา ตั้งแต่ตอนบนของยุคเพอร์เมียนถึงตอนล่างของยุคไทรแอสซิก (ประมาณ 250 ล้านปี ถึง 200 ล้านปี) มีหินภูเขาไฟเกิดขึ้นมากในบริเวณต่าง ๆ ของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือภาคกลางตอนบน และขอบที่ราบสูงตอนล่าง และในช่วงปลายมหายุคซีโนโซอิก (ประมาณ 0.9-0.6 ล้านปี) นับเป็นช่วงสุดท้ายของการเกิดการระเบิดของภูเขาไฟในประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดหินบะซอลต์เป็นส่วนใหญ่


หินพัมมิสคืออะไร?

หิน พัมมิส เกิดขึ้นจากการเย็นตัวของหินหลอมเหลวใต้พื้นโลก หรือที่เราเรียกกันว่า “ลาวา” ซึ่ง ลาวาเหล่านี้เกิดจากการหลอมละลายหิน และ แร่ธาตุต่างๆ ด้วยความร้อนใต้พื้นโลก ด้วยเหตุนี้ หินลาวาจึงมีสสาร และแร่ธาตุมากมายดังตัวอย่างตารางด้านล่างนี้



Material Percentage

SiO2 Content 62.53 %

CaO Content 3.88 %

MgO Content 0.43 %

Na2O Content 1.14 %

K2O Content 0.58 %

Fe2O3 Content 3.51 %

Al2O3 Content 24.57 %

MnO2 Content 0.12 %

TiO2 Content Less than 0.05

Loss on Ignition 2.92 %




ที่มา http://www.energyfantasia.com/ef4/pedia/pediashow.php?show=392




- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกันกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมกลายเป็นแมกมา และปะทุขึ้นมา บนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทร และมีร่องใต้ทะเลลึก มีแนวการเกิดแผ่นดินไหวตามขอบแผ่นธรณีภาคลึกลงไปถึงชั้นเนื้อโลก จนมีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง เช่น ที่หมู่เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์
- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่ามุดตัวลงข้างล่างใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เกิดเป็นร่องใต้ทะเลและเกิดเทือกเขา ตามแนงขอบทวีปเป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง และแผ่นดินไหวรุนแรง เช่น อเมริกาใต้แถบตะวันตก
- แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ซึ่งทั้งสองแผ่นมีความหนามาก ทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงแต่อีกแผ่นหนึ่งเกยขึ้นเกิดเป็นเทือกเขาแนวยาวอยู่กลางทวีปหรือแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่นเทือกเขาหิมาลัย ในทวีปเอเชีย เทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b4804390/data0.html#history

บนพื้นผิวโลกของเรา มีหินที่เกิดเป็นชั้น ๆ คลุมพื้นที่ประมาณสามในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้นหินชั้นและการจัดเรียงลำดับของมันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่วิชาธรณีวิทยาสาขาอื่น ๆ เนื่องจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในอดีตจะถูกบันทึกไว้ในชั้นหิน การศึกษาลำดับชั้นหินจึงสามารถทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาประวัติในบริเวณนั้น ๆ และนำไปสู่การค้นพบแหล่งแร่เศรษฐกิจและแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติได้ เมื่อเราสามารถอ่านปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตตามลำดับการเกิดก่อน-หลังแล้ว เราก็ได้ลำดับเวลา (time sequence) ของปรากฏการณ์นั้น ๆ ซึ่งเป็นตารางเวลาเปรียบเทียบ (relative time scale) แสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ เกิดขึ้นก่อนหรือหลังปรากฏการณ์อื่น ๆ อย่างไร ในการคำนวณหาว่าปรากฏการณ์ในอดีตได้เกิดขึ้นมาแล้วนานเท่าใดนั้น เราต้องวัดถอยหลัง ไปจากปรากฏการณ์หนึ่งๆ ที่ทราบอายุแน่นอนก่อน เช่น เราอาจจะหาอายุปรากฏการณ์ในอดีตโดยเทียบกับยุคปัจจุบัน เราเรียกวิธีการนี้ว่าการหาเวลาหรืออายุที่วัดได้ (Measured time scale) ซึ่งเวลาที่วัดได้นี้จะบอกเราว่าปรากฏการณ์ในอดีตนั้น ๆ ได้เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วจากยุคปัจจุบัน


ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=38442


หากเราเรียนรู้ธรรมชาติกรณีแผ่นดินไหว และได้รับทราบถึงมาตรการการป้องกันภัย การป้องกันตัวเอง การรู้จักแผ่นดินไหวให้มากขึ้น เราจะไม่แตกตื่นและตกใจเหมือนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งหากเกิดรุนแรงกว่านี้ ผมคิดว่าจะต้องจ้าละหวั่นและต้องเกิดอุบัติเหตุกันมากกว่านี้แน่นอน ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นต้นตำหรับของการป้องกันภัยด้านแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งในช่วงท้ายผมจะนำข้อมูลการเตรียมตัวเผชิญแผ่นดินไหวมาให้ท่านผู้อ่านครับ



ถึงขณะนี้ ผมขอเสนอว่าต้องจัดเอาภัยแผ่นดินไหว เป็นวาระสำคัญที่ผู้บริหารประเทศ ตลอดจนผู้บริหารเมือง – ท้องถิ่นและประชาชนทุกคนต้องให้ความสำคัญ ไม่น้อยกว่าภัยธรรมชาติอื่น ๆ เพราะสัญญาณที่ส่งออกมาในเรื่องความถี่มีสูงขึ้น เมืองใหญ่ ๆ หัวเมืองที่มีตึกสูงมาก ๆ ต้องให้ความสนใจ ใส่ใจมากเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าในข้อมูลทางวิชาการประเทศไทยจะไม่มีแนวการไหวสะเทือนพาดผ่านเหมือนกับประเทศอินโดนีเซียและพม่า ซึ่งมีแนวเลื่อนขนาดใหญ่พาดผ่านตามแนวขอบเพลต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นได้ เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง (Active fault) ที่ยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา

ตลอดจนเราไม่สามารถประเมินความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดจากประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ซึ่งกรณีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมาพิสูจน์ได้ดี

อย่างไรก็ตามผมขอนำข้อมูลประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมาให้ท่านผู้อ่านทราบเพื่อจะได้เป็นสถิติเปรียบเทียบ และเป็นฐานข้อมูลดูเพราะว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อไร ขนาดความรุนแรงเท่าใด ณ จุดไหนได้ แต่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อป้องกันและเตรียมการสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ทำได้ครับ






ที่มา http://www.dmr.go.th/main.php?filename=case_eq



สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว

การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ สาเหตุแรกเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ ส่วนสาเหตุที่สองเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหว โดยเป็นการเกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือ

ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว

ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ โดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน กล่าวคือ เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม










ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/bio2/chapter6/evo3.htm



หลักฐานจากซากดึกดําบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต

ในการทับถมกันของเปลือกโลกเกิดเป็นชั้นหินต่างๆ ชั้นที่อยู่ล่างสุดจะเป็นชั้นที่เก่าแก่
ที่สุด นักวิชาการสามารถคํานวณหาอายุของชั้นหินได้ว่าแต่ละชั้นเกิดขึ้นนานเท่าใด
ซากดึกดําบรรพ์ (fossil) ที่พบในชั้นหินใดก็ย่อมมีอายุเท่ากับอายุของหินในชั้นนั้น
สำหรับ ash layer นั้น คือ ชั้นเถ้าถ่านซึ่งพบเหนือชั้นที่พบซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดําบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตจะมีคาร์บอนค้างอยู่และส่วนหนึ่งคือ C14ซึ่งเป็นธาตุกัมมันต
ภาพรังสีและจะสลายตัวไปช้าๆ เหลือครึ่งหนึ่งจากเดิมทุกๆ 5,568 ปีเราจึงสามารถคํานวณหา
อายุของซากดึกดําบรรพ์ได้้โดยการวิเคราะห์หาปริมาณ C14 ที่เหลืออยู่ในซากดึกดําบรรพ์นั้น
“วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ เรียกว่า palaeontology”




ตารางทางธรณีวิทยา (ศึกษาจากซากดึกดําบรรพ์ ) ในยุคต่างๆ ที่สําคัญ



ยุคพบซากดึกดําบรรพ์ (fossil)
1. ซีโนโซอิก
ควอเตอร์นารี (3 ล้านปี )
- มนุษย์
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมปัจจุบัน

2. มีโซโซอิก
ครีเตเซียส (135 ล้านปี )
ยูแรสสิก (185 ล้านปี )
ไตรแอสสิก (230 ล้านปี )
- พืชมีดอกแรกเริ่ม
- ไดโนเสาร์ นกแรกเริ่ม
- สน ปรง
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมแรกเริ่ม

3. พาเลโอโซอิก
คอร์บอนิเฟอรัส (355 ล้านปี )
- พืชมีท่อลําเลียงชั้นตํ่า
- สัตวเลื้อยคลาน
- สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า

4. ก่อนแคมเบรียน

5. พันล้านปี
- สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน


๐ ซากดึกดําบรรพ์ ของสิ่งมีชีวิตที่โบราณที่สุด คือ สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน พบมา
ก่อนยุคแคมเบรียน (อายุประมาณ 5 พันล้านปี )

๐ ซากสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สาหร่ายสีเขียว และพืชสีเขียวบนบกเริ่มพบในยุคแคม
เบรียน (6 ร้อยล้านปี) มหายุคพาเลโอโซอิก

๐ ซากดึกดําบรรพ์ ของสิ่งมีชีวิตที่นับว่าสมบูรณ์ ที่สุด คือ ม้าโบราณ





ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84


ฐานธรณีภาค (อังกฤษ: Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร















3 ความคิดเห็น: